เหมือนเช่น การเจ็บป่วยส่วนมาก คือ เราต้องมีอาการจึง ไปหาหมอ อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สังเกตได้ง่ายด้วยตัวเอง
จากนั้น หมอก็จะตรวจประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ และอาจมีการตรวจสืบค้นอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม
ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) การตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ
หรือการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ การรักษาของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การให้ยาปฏิชีวนะ การรักษาสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น รักษาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์โรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ เมื่อสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์
การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ยา แก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
การดื่มน้ำมาก ๆ เช่น วันละอย่างน้อย 8-10 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม เช่น โรคหัวใจล้มเหลว
การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
ไม่กลั้นปัสสาวะนาน พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งแช่นาน ๆ
รักษาควบคุมโรคต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ และในการขับถ่ายควรล้าง/เช็ดเมื่ออุจจาระ/ปัสสาวะ จากด้านหน้า
ไปด้านหลัง (ในผู้หญิง)
ไม่ควรใช้สเปรย์หรือยาดับกลิ่นตัวในบริเวณอวัยวะเพศ เพราะก่อการระคายเคืองเยื่อเมือกของอวัยวะเพศ
จึงเพิ่มโอกาสติดเชื้อและเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น
ในผู้หญิง ไม่ควรใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยการใช้น้ำยาฆ่าอสุจิ หรือการใช้ฝ่าครอบปากมดลูก เพราะเพิ่มโอกาส
ติดเชื้อต่อช่องคลอด ปากท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ
การอาบน้ำในอ่างอาจเพิ่มโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น รักษาสุขอนามัยพื้นฐานเสมอเพื่อสุขภาพแข็งแรง
ลดโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ รวมทั้งการติดเชื้อทางเพศ สัมพันธ์, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
อ้างอิง แผ่นพับจาก งานพัฒนาและส่งเสริมวิชาการสุขภาพ
กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ โรงพยาบาลราชวิถี
โทร 02-644-7000 ต่อ 2823, 2824
โรงพยาบาลราชวิถี
เลขที่ 2 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02-3548108
06 07 01 60
HPH
Rajavithi Hospital