คางทูม เป็นได้ หายเองได้

คางทูม เป็นได้ หายเองได้

คางทูม…เป็นได้ หายเอง?

คางทูม โรคโบราณ ที่ เด็ก ในยุค ปัจจุบัน ไม่น่าจะรู้จัก เพราะ มีการฉีดวัตซีน ป้องกัน ตั้งแต่เล็ก แต่ โรคทุกอย่างสามารถ กลับมาเป็นได้ หากสุขอนามัย ของเราไม่ดี พอ โดยเฉพาะ โรคที่สามารถติดต่อได้ การรู้ไว้ จึง ไม่เสียหายอะไร

รู้ไหมทำไมเป็นคางทูม

โรคคางทูม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า มัมส์ (Mumps) เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ จะทำให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำลาย (ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งทั้งสอคางทูมงข้าง) ต่อมน้ำลายที่ใต้ลิ้น, ต่อมใต้ขากรรไกรก็ได้ แต่ต่อมที่ถูกเชื้อไวรัสเล่นงานมากที่สุด คือ ต่อมพาโรติด (parotid) จะอยู่ตรงหน้าหูหรือก้ามส่วนบน เป็นเหตุให้แก้มมีลักษณะบวมโต โย้ลงมาที่คางจึงเป็นที่มาของชื่อโรค
เชื้อโรคจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย แพร่เชื้อคล้ายโรคหวัด จึงติดต่อกันได้ง่ายผ่านการไอ จาม หรือหายใจรดกัน และการสัมผัสถูกมือ สิ่งของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ จาน ชาม ที่มีการปนของเชื้อโรค พบการระบาดได้ในช่วงฤดูหนาว และเป็นมากที่สุดในเด็กวัย 6-10 ปี

อาการเริ่มต้น

–    มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดนำมาก่อนประมาณ 2-3 วัน ไข้อาจสูง 38-40 องศาเซลเซียส หรืออาจไม่มีไข้เลยก็ได้
–    มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว เจ็บจอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
–    ปวดในรูหู หรือหลังหู เมื่อเคี้ยวหรือกลืนอาหาร
–    มีอาการเจ็บบริเวณหน้าหู ร่วมกับอาการบวม โดยเริ่มเป็นที่หน้าหูข้างใดข้างหนึ่งก่อน ต่อมาจึงมีอาการทั้ง 2 ข้าง
–    ผิวหนังบริเวณนั้น ๆ อาจแดง ร้อน และตึง ในบางรายอาจมีอาการบวมที่ใต้คางร่วมด้วย

การดูแลรักษา

เพราะ โรคคางทูม เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ สามารถหายได้เอง

ดังนั้นวิธีการรักษาคือ ดูแลตามอาการ เช่น ดื่มน้ำมาก ๆ เช็ดตัวเวลามีไข้สูง หรือให้ยาลดไข้ ดูแลสุขภาพช่องปาก อาจช้ำยาบ้วนปากหรือน้ำเกลือทำความสะอาดช่องปากหลังอาหาร และนอนพักผ่อนให้มาก
เช็ดตัว เพื่อลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย ทว่าน้ำที่ใช้นั้นมีอุณหภูมิต่างจากความร้อนในร่างกายลูก เช่น ใช้น้ำเย็นเช็ดตัว อาจส่งผลให้การระบายความร้อนได้ไม่ดี เส้นเลือดหดตัว ทำให้ลูกไม่สบายตัว คุณแม่ไม่กล้าเช็ดตัวไข้ก็เลยไม่ลง เวลาเช็ดตัวลูกควรสังเกตอุณหภูมิเป็นหลัก เช่น ช่วงกลางวัน สามารถใช้น้ำก๊อกปกติเช็ดตัว

หากอากาศเย็นหรือเวลากลางคืนควรใช้น้ำอุ่นเช็ดตัวลูก เป็นต้น
น้ำแข็งประคบ หากมีอาการปวด และเคี้ยวกลืนอาหารลำบากร่วมด้วย การใช้น้ำเย็นประคบบริเวณคางหรือใต้คาง จะช่วยบรรเทาอาการได้ระดับหนึ่ง แต่หากเป็นเพียงอาการบวม แค่ใช้น้ำอุ่นประคบช่วงเช้า-เย็น

วิธีการป้องกัน

–    สอนลูกเรื่องสุขอนามัย เช่น การล้างมือ การใช้สิ่งของร่วมกับเพื่อน ๆ เป็นต้น
–    หมั่นดูแลสุขภาพร่างกายลูกให้แข็งแรง และพักผ่อนออกกำลังกาย
–    เมื่อสมาชิกในบ้านป่วย ไม่ควรให้ลูกคลุกคลีกับผู้ป่วย ป้องกันการติดต่อของเชื้อโรค
–    เน้นอาหารอ่อน ๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม อาหารที่เคี้ยวง่าย
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม (Mumps Vaccine) อาจเป็นหนึ่งทางเลือกของการป้องกันโรค คุณแม่ควรขอคำแนะนำจากคุณหมอโดยตรง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายและควรรับการฉีดก่อนช่วงขวบปีแรก (ฉีดรวมกันกับวัคซีนป้องกันหัดและหัดเยอรมัน เรียกว่าเอ็มเอ็มอาร์ MMR: measles, mumps, and rubella vaccine) โดยฉีดเข็มที่ 1 ช่วงอายุ 9-15 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 6-10 ปี เพื่อสร้างภูมิต้านทานโรคแบบมีประสิทธิภาพ
รู้ไว้ใช่ว่า

เขียน ฮู้ แก้คางทูมอีกหนึ่งวิธีการดูแลที่คนจีนเชื่อก็คือโรคคางทูมเกิดจากปีศาจหมู ทำให้แก้มบวมคล้ายหมู ต้องใช้เสือปราบ (เสือจะไล่ปีศาลหมูให้หนีไป) จึงให้คนที่เกิดปีขาลเขียนคำว่า “โฮ้ว” ด้วยหมึกจีนลงบนแก้มของเด็ก แก้มที่บวมโย้ ก็จะยุบลง เรียกโรคนี้ว่า คือเถ้าปุ๊ย (แปลว่าบวมเป็นหัวหมู)

Related posts

Leave a Comment