“นิ้วล็อค” ของแถมจาก Smartphone!

ข่าวดี! หากคุณใช้ Smartphone ไม่ว่าจะเปิดเล่น Facebook หรือคุย Line หรือแม้แต่ผ่อนคลายด้วยการกดเล่นเกมต่างๆ นอกจากความสนุกเพลิดเพลินที่คุณจะได้แล้ว คุณอาจได้อาการ “นิ้วล็อค” เป็นของแถมฟรีๆ อีกด้วยนะคะ…สนใจดูรายละเอียดเลยค่ะ

ระดับความพิเศษของ นิ้วล็อค

ลองตรวจสอบดูว่าคุณเป็นผู้โชคดี มีอาการล็อคหรือยัง ซึ่งความพิเศษจะเรียงจากน้อยไปหามาก ดังนี้

  1. เริ่มเจ็บบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ
  2. นิ้วขัดหรือสะดุดในขณะงอหรือเหยียดออก
  3. นิ้วติดแข็งอยู่ในท่างอ เหยียดไม่ออกหรืองอไม่ลง

ทำอย่างไรจะได้ นิ้วล็อคเป็นของแถม

ด้วยลักษณะการใช้งานของ Smartphone นั้นเอื้อให้เกิดนิ้วล็อคได้ง่ายอยู่แล้ว เพราะต้องใช้นิ้วจิ้มและสไลด์ไปบนจอขนาดเล็กซ้ำไปซ้ำมา เมื่อใช้บ่อยมากๆ คุณจะรู้สึกเจ็บที่ฐานนิ้วมือหรือมีอาการปวดนิ้วคล้ายนิ้วถูกบิด จะรู้สึกปวดขาโดยเฉพาะตอนกลางคืนหรือช่วงเพิ่งตื่นนอน เมื่อกำมือและงอนิ้วเข้ามาจะเหยียดกลับคืนไม่ได้ รู้สึกนิ้วแข็งเหมือนถูกล็อคไว้ ต้องใช้มืออีกข้างมาง้างออก ถ้าคุณเป็นแบบนี้ล่ะก็ คุณมีอาการ “นิ้วล๊อค” เรียบร้อย

สาเหตุ นิ้วล็อค
male hands typing on a laptop

ทำอย่างไรจึงจะพลาดจาก นิ้วล็อค

หากคุณเป็นผู้โชคดีแล้วยังฝืนเล่นโทรศัพท์มือถือบ่อยๆ เหมือนเดิม คุณก็จะเจ็บปวดมากจนถึงขั้นต้องรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อต้านการอักเสบ หรืออาจถึงขั้นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุด

สำหรับผู้พลาดหวังนิ้วล็อค เป็นเพราะคุณใช้โทรศัพท์น้อยเกินไป หรือใช้โทรศัพท์จนปวดมือแล้วแก้ด้วยการยืดและเหยียดอยู่เสมอ ทั้งยืดนิ้วมือ ยืดข้อมือ และประสานมือเหยียดแขนออกไป รวมถึงเอามือไปแช่น้ำอุ่นด้วย วิธีเหล่านี้ทำให้เส้นเอ็นของคุณผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดจนพลาดจากนิ้วล็อคนั่นเอง

นิ้วล็อคคืออะไร?

อาการนิ้วล็อค (Trigger Finger) คืออาการที่งอข้อนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้นไม่ได้ เหมือนถูกล็อคอยู่ เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น ที่ใช้ ในการงอข้อนิ้วมือ เมื่ออักเสบรุนแรงขึ้นจะเกิดปุ่มตรงเส้นเอ็น เวลา งอ นิ้ว ปุ่มนี้จะอยู่นอกปลอกหุ้ม นิ้วจึงถูกล็อกอยู่ในท่างอ การอักเสบนี้เกิดจากแรงกดหรือเสียดสีของเส้นเอ็นแบบซ้ำซาก ซึ่งก็มาจากการใช้มือและนิ้วในท่าเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา เมื่อก่อนมักจะพบอาการนิ้วล็อคในกลุ่มคนที่ใช้มือและนิ้วค่อนข้างหนักหรือแบบซ้ำๆ เช่น แม่บ้าน แม่ครัว ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างไม้ นักกีฬากอล์ฟ นักกีฬาเทนนิส

แต่ในปัจจุบันพบว่าสำหรับคนที่เล่นโทรศัพท์มือถือบ่อยมากๆ ก็จะเกิดอาการนิ้วล็อคได้เช่นกัน

ไม่อยากเป็น นิ้วล๊อค เล่นโทรศัพท์ ทำงาน แบบเปลี่ยนท่าบ่อยบ่อย อาการก็จะไม่รุนแรง

นิ้วล็อค

Related posts

Leave a Comment