จอ คอมพิวเตอร์ อาจรวมถึง จอโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน และ เท็ปเล็ต ซึ่ง กำลังเป็นที่นิยมยุคนี้ หากใช้สายตาจ้องนานๆ อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้กลายเป็นโรงหรือกลุ่มอาการที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) หรือโรคซีวีเอส
โรคนี้มักเกิดกับคนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น เกิน 2-3 ชั่วโมง โดยจะมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย ทั้งนี้อาการเหล่านี้พบได้ถึงร้อยละ 75 ของบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี อาการในบางคนอาจเป็นเล็กๆ น้อยๆ ไม่บั่นทอนการทำงาน หรือพักการใช้คอมพิวเตอร์สักครู่ก็หายไป บางคนอาจต้องว่างเว้นการใช้เป็นวันก็หายไป บางรายอาจต้องใช้ยาระงับอาการ
สาเหตุหลักของโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมมักเกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือนานๆ และไม่ค่อยกระพริบตา หากเราอ่านหนังสือหรือนั่งจ้องคอมพิวเตอร์ อัตราการกะพริบจะลดลงประกอบกับแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ตาเมื่อยล้า ทั้งแสงจ้าและแสงสะท้อนมายังจอภาพ อาจเกิดจากแสงสว่างไม่พอเหมาะ มีไฟส่องเข้าหน้าหรือหลังจอภาพโดยตรง หรือแม้แต่แสงสว่างจากหน้าต่างปะทะหน้าจอภาพโดยตรง ก่อให้เกิดแสงจ้าและแสงสะท้อนเข้าตาผู้ใช้ ทำให้เมื่อยล้าตาง่าย หรือระยะทำงานที่ห่างจากจอภาพไม่เหมาะสม มีสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวไม่มาก โดยการทำงานตามปกติไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่ถ้ามาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ก็จะก่ออาการเมื่อยล้าตาได้ นอกจากนี้บางรายมีโรคตาบางอย่างประจำตัวอยู่ เช่น ต้อหินเรื้อรัง ม่านตาอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง ตลอดจนโรคทางกาย เช่น ไซนัสอักเสบ โรคหวัดภูมิแพ้เรื้อรัง หรือร่างกายอ่อนเพลีย ทำให้ต้องปรับสายตามากกว่าใช้คอมพิวเตอร์ จึงก่อให้เกิดอาการเมื่อยตาได้ง่าย อีกทั้งการทำงานจ้องจอภาพนานเกินไป ย่อมเกิดอาการทางตาได้ง่ายจากการเกร็งกล้ามเนื้อตาตลอดเวลา
สำหรับการแก้ไขและป้องกันคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมหรือโรคซีวีเอส คือ…
1. ฝึกกะพริบตาบ่อยๆ ขณะทำงานหน้าจอ และหากแสบตามากอาจใช้น้ำตาเทียมช่วย
2. ควรปรับห้องและบริเวณทำงาน อย่าให้มีแสงสะท้อนจากหน้าต่าง หรี่ ม่านปรับแสง หรือหลอดไฟบริเวณเพดานห้องสะท้อนเข้าตา
3. ไม่หันจอภาพเข้าหน้าต่าง
4. ควรใช้แผ่นกรองแสงวางหน้าจอหรือใส่แว่นกรองแสง
5. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ในระยะที่ตามองได้สบายๆ
6. ปรับเก้าอี้นั่งให้พอเหมาะ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ใช้แว่นตา 2 ชั้น จะต้องตั้งจอภาพให้ต่ำกว่าระดับตา เพื่อจะได้ตรงกับเลนส์แว่นตา
7. รักษาโรคตาที่เป็นอยู่ หากมีสายตาผิดปกติหรือโรคตาบางอย่างอยู่ ควรแก้ไขและรักษาโรคตาที่เป็นอยู่ควบคู่ไปด้วย
8. พักสายตาเป็นระยะ หากงานในหน้าที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทุก 1-2 ชั่วโมงควรมีการพักสายตา โดยละสายตาจากหน้าจอ แล้วมองออกไปไกลๆ หรือหลับตาสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยกลับมาทำงานใหม่
หากปฏิบัติตามนี้แล้วเราก็จะสามารถถนอมสายตาไว้ใช้กับคอมพิวเตอร์ได้อย่างดีและมีสุขภาพที่ดีได้ ป้องกัน คอมพิวเตอร์ Vision Syndrome ได้อีกด้วย
Related posts
-
เนื้อสเต็ก เรื่องจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร
วากิว โพนยางคำ แองกัส แบล็คแองกัส ชื่อสายพันธ์ุวัวที่มีชื่อเสียงของโลก และ ไทย จะกินเนื้อสเต็กให้อร่อย ต้องรู้ที่มา... -
Dress Code : แต่งตัวไปงานอย่างไร
Dress Code คือ รหัส การแต่งกาย ที่มักจะมี แจ้ง มาในงาน ใหญ่... -
วิธีการใส่ ทักสิโด อย่างเป็นทางการ
ทักซิโด คือ ชุดออกงานที่เรียกว่า Black Tie ซึ่งเป็นงานที่เป็นทางการหรืองานสังสรรค์ที่เจ้าภาพต้องการให้เป็นโอกาสพิเศษ ฉะนั้นถ้า เดรสโค้ด ใน...