ยาฆ่าหญ้า ทำไม ต้องยกเลิกการขึ้นทะเบียน
พาราควอตและไกลโฟเซต เมื่อพ่นลงดินแล้ว ไม่ได้ เสื่อมฤทธิ์ ทันที
สารพาราควอต และ ไกลโฟเซต มีการดูดซับได้ดีในดิน แต่มีเมือมีการใช้สารเคมีต่อเนื่องช้าๆ หลายหลายปี หรือ มีการใช้ในปริมาณมาก จนทำให้สารเคมีสะสม จนเกิดสภาวะอิ่มตัว ที่สารอินทรีย์ใในดิน organic matter
จะดูดซับได้ จะเกิดการคายซับเกิดขึ้น ทำให้ให้สารเคมี ถูกชะล้าง จากดินไปสู่แหล่งน้ำ ส่งผลให้ พืชชนิดอื่นดูดซับสารเคมีเหล่านี้ ไปสะสมในลำต้น และเกิดการสะสมของสารเคมีเหล่านี้ ในสิ่งมีชีวิต ในระบบนิเวศน์วิทยา
ถ้ายา พาราควอตและไกลโฟเซตตกค้างใน พืช ผัก ผลไม้ และ เนื้อสัตว์ จะล้างออก กำจัดออกได้ หรือ ไม่
ทั้งพาราควอตและไกลโฟเซต เข้าสู่ระบบลำต้น ด้วยการ ดูดซับ จึงไม่สามารถ ล้างออกได้ ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม ในงานวิจัย ของต่างประเทศ ยังพบอีกว่า มี พาราควอต ตกค้างในอาหาร เช่น แป้ง เบียร์ และอาหารเด็กอีกด้วย ( Danezis et al., 2016 )
ในลักษณะเดียวกับ สัตว์ เช่น ปลา กบ หอย เป็นต้น เมื่อได้รับสารพาราควอต จากห่วงโซ่อาหาร ทำให้ สารเคมีเหล่านี้อยู่ใน เนื้อเยื่อ และ อวัยวะของสัตว์ จึงทำให้ ไม่สามารถล้างออกให้หมดไปได้ นั้นหมายถึง ผู้บริโภคทุกคน มีโอกาสรับสารเคมีนี้ ไม่ต่างจากเกษตรกร
ประเทศที่ห้ามใช้ ยาฆ่าหญ้า
สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา จีน แลั หลายประเทศ ห้ามใช้ในผักและผลไม้ในพื้นที่สาธารณะ และ ในบ้านเรือน
ยังมีตัวอย่าง อีกหลายประเทศ ที่ยกเลิก พาราควอตและไกลโฟเซต เพราะความเป็น พิษสูง คือ สวิเดน ฟินแลนด์ ฮังการี ออกสเตรเลีย เดนมาร์ก สโลวีเนีย เป็นต้น