โรค อีดำ อีแดง

โรค อีดำ อีแดง

อีดำ อีแดง ไม่ใช่ ชื่อเล่น ของใคร

แต่เป็น ชื่อ โรค ชนิดหนึ่ง  ไข้อีดำ อีแดง Scarlet Fever ที่มีอาการแปลก และ ไม่ค่อยเจอใน ปัจจุบัน อาการของโรค มักพบในเด็ก 5-15 ปี

เกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัส เอ ( Group A- Streptococcus) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ตอนบน อาจจะมีอาการ เจ็บคอ คอแดง คออักเสบ ร่วมด้วย จุดเด่น ของ โรคนี้คือ เป็น จุด ผื่นแดง ขึ้น ตามผิวหนัง ข้อพับ แขนขา และ ลำตัว

จากประสบการณ์ตรง ที่เคยพบ เด็กเป็นอาการนี้คือ

วันแรก มีอาการไข้ ตัวร้อนสูง ซึม อาเจียน เบื่ออาหาร >> แก้ไขตามอาการ คือ เช็คตัวเพื่อให้ไข้ลด ดื่มน้ำมากๆ ทานยาลดไข้ เท่าที่จำเป็น

วันที่สอง มีอาการไข้ ไข้ลด เป็นบางช่วง คอแดง มีอาการเจ็บคอ ร่วมด้วย >> พาไปหาหมอ เจาะเลือด ตรวจพบเชื่อแบคทีเรีย ทำให้ เริ่ม วินิจฉัยได้ ชัดเจนขึ้น

วันที่สาม เริ่มมีจุด แดง ผื่น ขึ้น ตามข้อพับ แขน ขา และ มากขึ้น เรื่อย ที่ลำตัว ใบหน้า เป็นผื่นแดง อาจจะมีอาการ คันร่วมด้วย >> หาคุณหมอ วินิจฉัย ได้ชัดเจนขึ้น และให้ทานยา ปฏิชีวนะ โดยผู้ป่วยต้องทานให้ ครบ ตามที่คุณหมอสั่ง อาจจะบรรเทาอาการคัน ด้วยการ ทายาพวก คารามาย หรือ ทานยาแก้แพ้ ตามที่หมอ ให้มา (หมายเหตุ การทายา ต้องให้ คุณหมอ ผู้วินิจฉัย เป็นผู้ให้ทานเท่านั้น ไม่ควร หายาทานเอง ) โดยอาการ ผื่น ตามมือ อาจจะยุบ และ ขึ้นไปผื่น ได้อีก ภายใน 1-3 วัน หลังจากได้ ทานยา ปฏิชีวนะ แล้ว

อาการผื่น จุดแดง และ อาการ ต่างๆ จะเริ่มขึ้น เมื่อทานยาปฏิชีวนะ หมด ต่อมา จะมีอาการลอกของ ผิวหนัง ตามมือ และ เท้า ซึ่งเป็นเรื่อง ปกติ และ จะหาย ไปเอง ภายใน 6 สัปดาห์

โรคไข้อีดำอีแดงติดต่อได้ทางไหน?

การติดต่อของโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อเชื้อสเตรปโตคอกคัส กรุ๊ปเอ ผ่านทางเดินหายใจ โดยเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะสามารถแพร่กระจายเชื้อผ่านทางน้ำลาย น้ำมูก โดยการไอ จาม ทำให้ติดต่อไปยังผู้ที่ใกล้ชิด เช่น ที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือในที่ชุมชนอื่นๆ โรคนี้มีระยะฟักตัวของเชื้อโรคประมาณ 1-3 วัน จึงแสดงอาการออกมา หลังจากทานยาปฏิชีวนะ ภายใน 24 ชม จะสามารถลดโอกาส การแพร่เชื้อได้

ส่วนมาก เราจะยังไม่รู้ ใช่ช่วง 1-2 วันแรก ของการ ไข้นี้ เนื่องจาก ผื่นจะยังไม่ขึ้น ซึ่งเป็นอาการ ที่ชัดเจน แต่ สามารถ ตรวจได้ โดยการ เจาะเลือดตรวจ หาเชื้อได้ ในช่วงวันแรก ของการ ไปหาหมอไข้อีดำ อีแดง

Related posts

Leave a Comment