I don’t know บอกได้สารพัด วิธี

I don’t know บอกได้สารพัด วิธี

Ways to say “I don’t know.” สารพัดวิธีบอกว่า “ฉันไม่รู้”

ศิลปะการเรียนภาษาอังกฤษ ในส่วนของ speaking  คือ เอาคำพูด ในสถนะการณ์ ต่างๆ ไม่ซ้ำกัน ทำให้การ สอบ IELTS  part speaking ได้คะแนน ดีขึ้น
“I don’t know. ฉันไม่รู้” เป็นประโยคง่าย ๆ ที่เรารู้จักดีและใช้กันบ่อยด้วย แต่เคยคิดไหมคะว่าที่จริงแล้วการจะบอกใครสักคนว่า “ฉันไม่รู้” กลับไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป ต้องเลือกสถานการณ์และดูความสนิทสนมของคนที่เราจะใช้ด้วย ในสถานการณ์ที่ทางการมาก ๆ อย่างการประชุม อภิปราย สัมภาษณ์งาน หรือการเจรจาธุรกิจการจะปฏิเสธตรง ๆ ว่าไม่รู้ก็ต้องใช้ภาษาที่สุภาพ และจะให้ดีก็ต้องหาคำอธิบายและทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อไว้ด้วย ซึ่งคอลัมน์ติดปากติดใจเคยนำเสนอตัวอย่างประโยคประเภทนี้ไปแล้ว
แต่ในสถานการณ์สบาย ๆ ที่ไม่ต้องการพิธีรีตองมาก โดยเฉพาะกับคนที่เราจักหรือพิธีรีตองมาก โดยเฉพาะกับคนที่เรารู้จักหรือสนิทสนมด้วยแล้ว ถึงการยอมรับแบบตรงไปตรงมาไม่ใช่เรื่องยาก แต่เราจะบอกว่า “ฉันไม่รู้” ยังไง ให้ฟังเป็นธรรมชาติ สั้น กระชับ เจ๋ง และได้ใจความ ที่สำคัญคือไม่ต้องง้อคำว่า “I don’t’ know.” อีกแล้วด้วย
เรามาดูตัวอย่างสารพัดวิธีบอกว่า “ฉันไม่รู้” เพื่อให้ เราดูเป็นคน น่าสนใจ ขึ้นมาทีเดียว ถึงแม้เราจะไม่รู้

คำศัพท์น่าสนใจ
Clue (n./v.) ร่องรอยบอกเงื่อนงำ
Beat (v.) ตี
Idea (n.) ความคิด
Guess (n./v.) การเดา คาดเดา
Mine (pron.) ของฉัน
Mind reader (n.) นักอ่านใจคน
การบอกว่า “ฉันไม่รู้” กับคนที่เรารู้จัก ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้ประโยคอินดี้ โชว์ซี้ปี๊กกับคู่สนทนาเสมอไป ถึงรู้จักแล้วเราก็ยังสุภาพกันได้ใช่ไหมคะ เพราะเราต้องดูกาลเทศะประกอบไปด้วย อย่างเวลาคุยกันในที่ทำงาน หรือแม้แต่สถานที่สาธารณะ เพราะฉะนั้นเรามาเริ่มจากการคุยในระดับกึ่งทางการ กึ่งสบาย ๆ กันก่อนดีกว่า
เราสามารถใส่คำว่า “Sorry.” หรือ “I’m sorry.” ที่แปลว่า “ขอโทษนะ” รวมทั้ง “I’m afraid” ที่แปลว่า “ฉันเกรงว่า” เข้าไปข้างหน้า ทำให้ประโยคฟังดูสุภาพขึ้นทันตาเลยค่ะ ดูเป็นทางการว่าการโพล่งออกมาตรง ๆ ห้วน ๆ ด้วย
สมมุติว่าเพื่อนถามเราเกี่ยวกับโปรเจ็กต์ หรือความพยายามบางอย่าง เช่น
– Why didn’t it work?
ทำไมมันถึงไม่สำเร็จล่ะ
Sorry. I don’t have the answer to that.
ขอโทษนะ ฉันไม่รู้คำตอบหรอก
Sorry, I can’t help you there.
ขอโทษนะ ฉันไม่รู้หรอก
I’m sorry, I can’t help you with that.
ขอโทษนะ ฉันไม่รู้หรอก
I’m afraid I’ve no idea.
ฉันเกรงว่าจะไม่รู้คำตอบนะ
I’m afraid I haven’t got a clue.
ฉันเกรงว่าจะไม่รู้คำตอบนะ
อีกแบบที่ใช้กับสถานการณ์แบบกึ่งทางการกึ่งสบาย ๆได้เหมือนกัน โดยเฉพาะเวลาต้องการบอกว่าเราไม่รู้หรือไม่มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเลย หรือจะบอกกลาย ๆ ว่าเราไม่ถนัดเรื่องนี้เลย หรือจะบอกกลาย ๆ ว่าเราไม่ถนัดเรื่องนี้เลย ก็ใช้ตัวอย่างแบบนี้ค่ะ เพื่อน ๆ สามารถปรับเปลี่ยนคำศัพท์หลัง “about…” ให้เหมาะกับสิ่งที่เราอยากจะบอกนะคะ
– I don’t know anything about computer games.
ฉันไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเกมคอมพิวเตอร์เลย
– I don’t know anything about him.
ฉันไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเขาเลย
แต่ถ้าพอจะรู้อยู่บ้างนะ เพียงแต่เป็นข้อมูลเล็กน้อย หรือถ้าพอจะออกความเห็นได้บ้าง แต่จะเอาบทวิเคราะห์เชิงลึกหรือให้วิจารณ์เป็นตุเป็นตะละก็ไม่ได้แน่ ๆ แบบนี้เรามีวิธีออกตัวไว้ก่อนแบบง่ายมาก ๆ โดยการเปลี่ยนคำศัพท์คำเดียวจากตัวอย่างเช็ตข้างบนเท่านั้นเอง นั่นคือเปลี่ยนจาก “anything” เป็น “much” อย่างเช่น
– I don’t know much about computer games.
ฉันไม่ค่อยรู้เรื่องเกมคอมพิวเตอร์เท่าไรน่ะ
– I don’t know much about him.
ฉันไม่ค่อยรู้เรื่องเขาเท่าไรนะ
ทีนี้มาถึงการบอกว่า “ฉันไม่รู้” กับคนกันเองมาก ๆ และ/หรือสถานการณ์ก็กันเองมาก ๆ ด้วย ซึ่งจะว่าไปก็มีแบ่งย่อยได้อีกหลายแบบอยู่นะ อย่างเช่นเวลาที่เราไม่รู้คำตอบจริง ๆ แต่แทนที่จะ “I don’t know.” ตรง ๆ ลองตอบวิธีใหม่แบบนี้ดูสิคะ ฟังแล้วกระชับ เจ๋งกว่าทำให้แลดูเป็นคนเก่ง และเข้าใจภาษาขึ้นมาทันทีด้วย
สมมุติเพื่อนถามเราเกี่ยวกับใครคนหนึ่งเช่น
– Will he come back?
เขาจะกลับมาใหม่
– Search me.
ฉันไม่รู้หรอก
– (It) beats me.
ฉันไม่รู้หรอก
– Don’t ask me. I’m always the last to know.
อย่ามาถามฉันเลย อย่างฉันน่ะตกข่าวตลอด
– Language Tip
คำว่า “search” แปลตรง ๆ ว่า “ค้นหา” แต่ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าให้เขาเข้ามา”ค้นตัวฉัน” จริง ๆ นะคะ เป็นคำสแลง (idiom) เท่านั้นค่ะ
– Language Tip
คำว่า “beat” แปลตรง ๆ ว่า “ดี” แต่ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าฉันถูกตีจริง ๆ อีก เหมือนกัน และไม่ว่าจะออกเสียง “it” ด้วยหรือไม่ เราต้องไม่ลืมออกเสียง “s” ใน “beats” ให้ชัดด้วย (เพราะไม่งั้นจะผิดความหมาย และอาจโดนตีเข้าจริง ๆ ก็ได้นะคะ)
แต่ถ้าเป็นเวลาโดนสอบสวน เอ๊ย…สอบถามในสิ่งที่เพื่อนเราก็น่าจะเดาได้ราง ๆ (หรือชัดมาก ๆ) อยู่แล้วว่าเราไม่มีทางรู้เห็นข้อมูลนั้นแน่ ๆ การต้องตอบคำถามในสถานการณ์แบบนี้หลายคนอาจมีอารมณ์ประมาณเหวอนิด ๆ เหวี่ยงหน่อย ๆ ปนเข้ามาด้วยใช่ไหมคะ อนุญาตให้เปลี่ยนมาใช้ตัวอย่างเหล่านี้ได้
สมมุติว่าเป็นคำถามเดียวกับหน้าที่แล้วนะคะ
– I’m not a mind reader.
ฉันไม่ใช่นักอ่านใจคนนะ
– What are you asking me for?
เธอจะมาถามฉันเพื่ออะไร
– How (the hell) should I know?
แล้วฉันจะไปรู้เหรอ (วะ)
– Language Tip
คำว่า “the hell” ในวงเล็บนี้ ใช้เติมเข้าไปเฉพาะเวลาที่ระดับความ “วีน” หรือความ “เหวอ” ของเราสูงกว่าปกติ เป็นรูปประโยคแบบไม่ทางการมาก ๆ นะคะ ควรใช้กับเพื่อนสนิทเท่านั้น
“ฉันไม่รู้” แบบถัดมาคือไม่ใช่แค่เราไม่รู้คนเดียวนะ แต่เรื่องที่ถามมานั้นมันยากกว่าปริศนาอะไรเอ่ยระดับแอดวานซ์เสียอีก อย่างเช่น มาถามเรื่องในอดีตอันพิศวง หรืเรื่องในอนาคตที่คาดเดาไม่ถูก ยากขนาดนี้คงมีแต่พระเจ้าเท่านั้นแหละที่ตอบได้ พูดง่าย ๆ คือ “ก็ใครมันจะไปรู้ล่ะ”
สมมุติเป็นคำถามเดียวกับหน้าที่แล้วอีกเหมือนกันค่ะ
– Who knows?
ก็ใครมันจะไปรู้ล่ะ
– It’s anyone’s guess.
ก็ใครมันจะไปรู้ล่ะ
– God (only) knows.
มีแต่พระเจ้าแหละที่รู้
– Your guess is as good as mine.
ฉันก็ไม่ได้รู้ดีไปกว่าเธอหรอก (ไม่มีใครรู้คำตอบหรอก)
– “The only true wisdom is in knowing you know nothing.”
ผู้มีปัญหาที่แท้จริงคือผู้ที่รู้ว่าตนไม่รู้อะไรเลย”
การไม่รู้อะไรก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องแย่เสมอไปนะคะ โซเครติส(Socrates) นักปราชญ์ชาวกรีกผู้แสวงหาความจริงและเป็นผู้วางรากฐานสำคัญให้กับปรัชญาตะวันตก เคยกล่าวไว้ว่า
โซเครติสเชื่อว่าเมื่อเรายอมรับว่าตัวเองไม่รู้อะไรเลย เราก็พร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ เสมือนน้ำไม่เต็มแก้วที่กระหายจะถูกเติมเต็มนั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้เรายังไม่รู้หรือไม่ถนัดในเรื่องไหนก็อย่าเพิ่งท้อนะคะ ขอให้มีกำลังใจลุกขึ้นมาเรียนรู้และใส่ความตั้งใจลงไปให้เต็มที่ก่อนก็พอ รับรองว่าถ้าพยายามได้ถูกจุดและถูกวิธีแล้วไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้แน่นอน

Related posts

Leave a Comment