สวนหัวใจ

สวนหัวใจ

การสวนหัวใจวิธีการ รักษาหลอดเลือดอุดตัน แบบง่ายที่สุด มีผลข้างเคียงน้อยที่สุด

การสวนหัวใจ เป็นวิธีการตรวจโดยการสอดสายสวนขนาดเล็ก ประมาณ 2 มิลลิเมตร ใส่เข้าไปในหลอดเลือดแดง บริเวณขาหนีบ หรือ ข้อมือ

โดยส่วนมาก จะทำที่ ขาหนีบ ผ่านเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ หรือ ห้องหัวใจ จากนั้นทำการฉีดสารทึบรังสี และ ถ่ายภาพเอ็กซเรย์บันทึกภาพส่วนต่างๆ ของหลอดเลือด ที่เลี้ยงหัวใจ เพื่อตรวจดูว่ามีการตีบหรือตันของหลอดเลือด  โดยวิธีการนี้ จะช่วยวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อย่างแม่นยำ และยังช่วยในการตัดสินใจของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และ แพทย์ในการพิจารณา ว่าควรจะแก้ไข หรือ รักษาด้วยวิธีใด ให้เหมาะสม และ เกิดประสิทธิผลแก่ผู้ป่วย อย่างสูงสุด

การปฎิบัติตัวก่อนตรวจ สวนหัวใจ

เตรียมตัว นอนโรงพยาบาล 1 วัน โดยนำยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำมาด้วย และ หยุดยา Wafarin ยาป้องกัน การแข็งตัว ของเลือด ก่อนตวจสวนหัวใจ 3-5 วัน ยกเว้น ยา ASA Clopidogrel ให้รับประทานต่อเนื่อง

ผู้ป่วยจะได้รับ การตรวจเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอ็กซเรย์ทรวงอก

งดอาหารและน้ำหลังเที่ยงคืน หรือ ก่อน ตรวจสวนหัวใจ ประมาณ 6 ชั่วโมง

เจ้าหน้าจะทำการโกนขน และทำความสะอาดผิวหนัง บริเวณที่จะใส่สายสวน ที่ขาหนีบทั้ง 2 ข้าง

ถ้าท่านมีประวัติการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้ยา แพ้สารทึบรังสี หรือ อาหารทะเล ควรแจ้งแพทย์พยาบาลทราบ

ไม่ควรใส่เครื่องประดับ หรือของมีค่าติดตัวไปห้องตรวจสวนหัวใจ รวมทั้งเสื้อชั้นใน กางเกงใน

วันตรวจผู้ป่วยจะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำก่อนเข้าห้องตรวจ

ปัสสาวะก่อนเข้าห้องตรวจ

การปฎิบัติตัวขณตรวจ สวนหัวใจ

นอนราบไม่หนุนหมอนบนเตียงตรวจ ที่สามารถปรับระดับความสูง และทิศทางได้ และยกแขน ทั้ง 2 ข้างไว้เหนือศรีษะ

ติดอุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และวัดความดันโลหิต

ทำความสะอาดบริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ บริเวณที่จะใส่สายสวน

คลุมผ้าที่ปราศจากเชื้อบริเวณที่จะทำการใส่สายสวน ห้ามผู้ป่วยเอามือวาง หรือ จับบนผ้า

แพทย์จะทำการฉีดยาชาให้ก่อนทำการใส่สายสวน

หากมีการอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น ต้องแจ้งแพทย์หรือ พยาบาลให้ทราบทันที

การปฎิบัติตัวหลังจากการตรวจสวนหัวใจ

แพทย์จะดึงสายสวนที่ขาหนีบออก และทำการกดแผล เพื่อห้ามเลือดนาน ประมาณ 15-30 นาที หลังเลือดหยุดใช้หมอนทรายทับแผลไว้ประมาณ 2 ชม เพื่อให้แน่ใจว่า เลือดหยุดไหล และ ไม่ซึมออกมาอีก

นอนราบ เหยียดขาข้างที่ใส่สายสวน ห้ามงอขา ประมาณ 4-6 ชั่วโมง และนอนพักอยู่บนเตียง 6-8 ชั่วโมง หรือ ตามที่แพทย์สั่ง

พยาบาลจะสังเกตอาการผิดปกติ และตรวจวัดสัญญาณชีพจนกว่าอาการจะคงที่

ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย หายใจ ไม่สะดวก ปวดแผล หรือ รู้สึกมีน้ำอุ่นอุ่น ไหลบริเวณแผล ( อาจจะมีเลือดออกจากแผล) ควรรีบแจ้งให้ พยาบาลทราบโดยด่วน

ภายหลังการตรวจสวนหัวใจ ประมาณ  30 นาที ถ้าไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ก็สามารถรับประทานอาหาร และ น้ำได้

ภาวะแทรกซ้อนจาการตรวจ สวนหัวใจ

ขณะฉีดสารทึบรังสี อาจมีลิ่มเลือดหลุดลอยออกไป อุดตันบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เกิดอาการอัมพาต หรือ อัมพฤกษ์ มีเลือดออกบริเวณแผล แพ้สารทึบรังสี แผลบวมจากการมีเลือดคั่งใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อหัวใจวาย ติดเชื้อบริเวณแผลหรือในกระแสเลือด เสียชีวิต

โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ <  1%

ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล

ถ้าไม่มีภาวพแทรกซอ้น จะนอนโรงพยาบาล 1 คืน วันรุ่งขึ้นหลังจากตรวจสวนหัวใจ กลับบ้านได้

หมายเหตุ ขั้นตอน และ วิธีการต่างเป็นแบบทั่วไป สำหรับผู้ป่วยที่มีสภาพร่างกายแตกต่าง อาจจะมีขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป และ ขึ้นอยู่กับการดำเนินการของแพทย์เจ้าของไข้ เป็นสำคัญ

Related posts