แผลร้อนใน อย่างวางใจ อาจจะกลายเป็น มะเร็งได้

แผลร้อนใน อย่างวางใจ อาจจะกลายเป็น มะเร็งได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแผลในปาก(แผลร้อนใน)

1.อาการเจ็บปาก ปากเปื่อยเป็นแผล เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด คือ แผลแอฟทัส(apthous ulser)หรือเรียกตาม ภาษาชาวบ้านว่า แผลร้อนใน นั่นเอง

2.แผลแอฟทัส หรือ แผลร้อนใน เป็นโรคที่เกิดกับคนเราเกือบทุกคน พบมากในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

3.สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของร่างกาย กล่าวคือมีการสร้างภูมิต้านทานเฉพาะต่อเนื้อเยื่อภายในช่องปากของตัวเอง ดังภาษาหมอเรียกว่าปฏิริยาภูมิต้านทานตัวเอง หรือออโตอิมมูน(autoimmune) เช่นเดียวกับที่พบในโรคเอสเอลอี(SLE)ซึ่งร่างกายมีการสร้างภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อแทบทุกส่วนของร่างกาย เช่น ผิวหนัง ผม ข้อต่อกระดูก ปอดตับสมอง หรือโรคปวดข้อรูมาตอยด์(rheumatoid arthritis) ซึ่งร่างกายมีการสร้างภูมิต้านทานต่อข้อต่อกระดูก

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้ แผลแอฟทัส กำเริบ มีอยู่หลายประการ เช่น สิ่งกระตุ้นที่ทำให้แผลแอฟทัสกำเริบ  เช่น ร่างกายพักผ่อนไม่พอ อดนอน ทำงานคร่ำเคร่งหรือ อ่านหนังสือสอบ หรือ เครียดเมื่อต้องพูด ภาษาอังกฤษ จากสถิติ นักเรียน นักศึกษา จะมีอาการกันมาก เมือ ช่วงสอบ หักโหม มีความเครียดทางจิตใจอาหารไม่ย่อย ท้องผูก ขณะมีประจำเดือน ขณะเป็นไข้หวัดตัวร้อน หรือมีการติดเชื้อในช่องปาก มีการระคายเคืองภายในช่องปาก เช่นสารบางชนิดในยาสีฟันหรืออาหาร

สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยา เกิดแผลเปื่อยปะทุขึ้นมาได้เป็นครั้งคราว โรคนี้เป็นโรคเฉพาะตัว ไม่ติดต่อกระจายโรคให้ผู้อื่น

4.แผลร้อนในจัดวาเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายแต่ประการใด เพียงแต่ทำให้เจ็บปวดน่ารำคาญในระยะ 1-3 วันแรกและจะหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ นานที่สุดไม่เกิน 3 สัปดาห์

ข้อดี คือ อาการดังกล่าว เป็น สัญญาณเตือน เบื้องต้น ว่าระบบภูมิต้านทานของร่างกายกำลังแปรปรวน เนื่องจาก มีความเครียด ทางร่างกาย หรือ จิตใจ สมควร จะได้ พักผ่อน หรือ คลายเครียด

รู้ได้อย่างไรว่าไม่ได้เป็นโรคอื่น

คนที่เป็นแผลร้อนในจะรู้สึกเจ็บในปาก เมื่อตรวจดูจะพบมีแผลตื้นๆขอบแผลแดง ตรงกลางแผลเป็นสีขาวปนเหลือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร(บางครั้งอาจมีขนาด7-15 มิลลิเมตร)ขึ้นที่เยื่อบุภายในช่องปาก ตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม บนลิ้น ใต้ลิ้น ส่วนน้อยอาจพบที่เพดานปาก เหงือก หรือต่อมทอนซิล

แผลร้อนใน ในปาก แผลในปากอาจมีเพียงแห่งเดียวหรือ 2-3 แห่งก็ได้ ในระยะ 2-3 วันแรกจะรู้สึกปวดมาก จนบางครั้งกลืนหรือพูดลำบากโดยเฉพาะถ้าขึ้นตรงโคนลิ้น หรือหลังต่อมทอนซิล ซึ่งอาจมองไม่เห็นจากภายนอกยิ่งถ้ากินถูกของเผ็ดหรือเปรี้ยวจัดจะรู้สึกปวดแสบทรมานขึ้น

ต่อมาอีก 5-7 วันจะเห็นว่ามีเยื่อเหลืองๆปกคลุมที่ผิวของแผล จากนั้นรอยแผลจะค่อยทุเลาปวดและหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยจะไม่เป็นแผลเป็น(ยกเว้นถ้าเป็นแผลขนาดใหญ่และลึกก็อาจมีรอยแผลเป็นได้

ส่วนมากจะไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ยกเว้นในบางคนที่เป็นรุนแรงก็อาจมีไข้ อ่อนเพลียร่วมด้วย

แผลร้อนในอาจกำเริบซ้ำได้เป็นครั้งคราว เมือ่ร่างกายอ่อนแอ หรือมีความเครียด บางคนอาจเป็นเพียงปีละ 1-2 ครั้ง บางคนอาจเป็นเดือนละครั้ง หรือ 2-3 ครั้ง

โรคนี้เป็นสิ่งที่สามารถวินิจฉัยได้ง่าย อย่างไรก็ตาม อาการปากเปื่อยเป็นแผลยังอาจมีสาเหตุจากโรคอื่นๆได้ด้วยเช่น

1.แผลที่เกิดจากการบาดเจ็บ เช่น ถูกแปรงสีฟันครูดหรือกระแทก ถูกฟันกัด ถูกฟันปลอมเสียดสี ซึ่งมักมีแผลเกิดขึ้น 1-2 แผลที่ริมฝีปาก ลิ้น หรือเหงือก รอยแผลนี้จะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ วิธีการปฏิบัตตัวคือควรบ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 2-3 ครั้ง และกินยาแก้ปวดถ้ารู้สึกปวดแผลมาก

2.แผลเริมขึ้นที่ปาก ในผู้ใหญ่ผลจะขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสเล็กๆเป็นกระจุกที่เดียวตรงริมฝีปาก แล้วแตกเป็นแผลตื้นๆ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อย แต่รอยแผลจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่ก็อาจเกิดซ้ำได้เมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีความเครียด หรือเวลาเป็นไข้หวัด ถูกแดด หรือขณะมีประจำเดือน แบบเดียวกับแผลร้อนใน ต่างกันตรงที่เริมจะขึ้นตรงริมฝีปากภายนอกและเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆก่อนที่จะแตกเป็นแผล แผลเริมที่ปากมีอาการเจ็บไม่มากเท่ากับแผลร้อนใน และมักจะเป็นซ้ำๆอยู่ที่ตำแหน่งเดิม

ส่วนในเด็กเล็ก แผลเริมมักจะขึ้นในช่องปาก ทำให้มีแผลเปื่อยขึ้นทั่วปาก(ไม่ใช่ขึ้นเฉพาะแห่งแบบแผลร้อนใน) นอกจากนี้จะมีอาการเหงือกบวมแดง เด็กจะมีไข้ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลือง บริเวณใต้คางและข้างคอจะบวมและเจ็บ เด็กอาจเจ็บแผลจนกินข้าวหรือดื่มน้ำไม่ได้ ควรรักษาด้วยการดื่มน้ำมากๆบ้วนปากด้วนน้ำเกลือบ่อยๆและทาแผลด้วยกลีเซอรีนโบแรกซ์

3.แผลมะเร็งในช่องปาก พบมากในวัยกลางคนขึ้นไป โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่กินหมาก จุดยาฉุน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าเพียวๆ ฟันเกหรือใส่ฟันปลอมที่ไม่กระชับ ทำให้เกิดแผลเรื้อรังที่ริมฝีปากกระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก หรือเพดานปาก นานแรมเดือนแรมปี โดยมากผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวด และแผลจะโตขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นก้อน

            บางคนในระยะแรกอาจเริ่มด้วยการมีฝ้าขาวๆหนาๆ(คลำดูรู้สึกสากๆ)ไม่เจ็บ ดังที่เรียกว่าลิวโคพลาเกีย(leukoplakia)ซึ่งจะเป็นอยู่นานแรมเดือนแรมปี ก่อนจะกลายเป็นก้อนมะเร็ง

6 สัญญาณเตือน มะเร็่งช่องปาก

Related posts